วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน

   วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

     อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

          วัน/เดือน/ปี 20 พฤศจิกายน 2556 ครั้งที่ 3 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.


สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้
                  
      ความรู้ที่ได้รับในวันนี้คือ

- ได้รู้ว่าจำนวนในคำตอบของเด็กไม่ได้มีเพียงคำตอบเดียว

- ประเมินเด็กต้องดูที่กระบวนการคิดมากกว่าคำตอบที่ได้รับ

-ได้รู้จุดมุ่งหมายในการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

- ได้รู้คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์

-ได้รู้ทักษะพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัยว่ามีอะไรบ้าง ได้แก่
 
การสังเกต  เช่น คำตอบจากสี่งที่เด็กเห็น
การจำแนกประเภท เช่น ความเหมือนและความแตกต่าง

การเปรียบเทียบ  เช่น  ข้างขวานั้นใหญ่กว่าข้างซ้าย

การจัดลำดับ เช่น เรียงสิ่งที่ใหญ่ไปหาเล็กหรืออาจจะเล็กไปหาใหญ่ก็ได้ การวัด  เช่น  วัดส่วนสูง วัดระยะทาง
การนับ เช่น  การนับจำนวนเพื่อนที่มาเรียน หรือการนับตัวเลข
รูปทรงและขนาด  เช่น รูปต่างๆจากกิจกรรมที่ได้เล่น
 
                      การสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กต้องสอนให้ครบทั้ง 7 ทักษะ  ตัวอย่างเช่น รูปปู จะเห็นได้ว่าเรานำมาสอนเพียงหนึ่งรูปได้ครบทั้ง 7 ทักษะไม่ว่าจะเป็น การนับขา การดูรูปทรงของปู การเปรียบเทียบก้ามเล็กกัลก้ามใหญ่ เป็นต้น เพราะฉะนั้นเมื่อเราเลือกรูปมาสอนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์เราต้องเลือกรูปที่มีองค์ประกอบคร้บทั้ง 7 ทักษะ
 
สิ่งที่ได้รับจากการทำกิจกรรม

1. การสังเกตว่าขณะเราผ่านเราเจออะไรบ้าง 
 
2. การจำแนกประเภท  เช่น มีร้านเสริมสวยกี่ร้าน ร้านค้าซื้อกี่ร้าน
 
3.  การเปรียบเทียบ โดยการเปรียบเทียบหอพักว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรเช่น หอนี้มีความสูงกว่า หอ
    
     นี้มีพื้นที่หอพักกว้างมาก  
 
4. การเรียงลำดับ ว่าสิ่งไหนมาก่อนหลัง หอไหนมาก่อนมาหลัง
 
5. การวัด เช่น การวัดหรือคาดคะเนว่าจากหอพักถึงมหาลัยระยะทางประมาณกี่กิโลเมตร
 
6. การนับ เช่น การนับว่าจากหอพักถึงมหาลัยมีหอพักกี่หอ  มีร้านค้ากี่ร้าน
 
7. รูปทรงและขนาด เช่น ได้เห็นว่าหอพักแต่ละที่มีขนาดไม่เท่ากัน และ รูปทรงตึกก็จะไม่เหมือนกัน


การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในอนาคต

             การจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ให้กับเด็กโดยในกรณีเอารูปมาให้เด็กทำกิจกรรม เราก็ควรที่จะเลือกรูปที่สามารถสอนเด็กได้ครบทั้ง 7 ทักษะ ถ้าเด็กตอบอะไรนั่นจะไม่มีคำตอบที่ผิด การประเมินเด็กต้องประเมินที่กระบวนการคิดมากกว่าคำตอบที่เด็กตอบมา
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น